7 ตุลาคม 2024

คณะมนุษย์ มร.ลป. ร่วมกับ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ลป. จัดงาน “สานศิลป์ ถิ่นมนุษย์” ครั้งที่ 13

รศ.ดร.ปริเยศ สิทธิสรวง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดงานสานศิลป์ ถิ่นมนุษย์ ครั้งที่ 13 “สานศิลป์ สานศาสตร์ สานการเรียนรู้ สู่ท้องถิ่น” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 2 อาคารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในการนี้ รศ.วิไลลักษณ์ พรมเสน คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และอ.ดร.เสาวรีย์ บุญสา ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงานโครงการฯ ต่อประธานในพิธี

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทาลัยราชภัฏลำปางจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมสร้างคุณค่า และปลูกจิตสำนึกรักทัองถิ่นแก่ผู้ร่วมงานและผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน และพันธกิจอื่นๆ ที่นำไปสู่การสืบสานต่อยอด การประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมไทยหรือท้องถิ่น หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น รวมไปถึงเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานทั้งภาครัฐหรือเอกชนในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ภายในงานจะได้พบกับการแสดง “Gu Zheng เสียงพิณแห่งสวรรค์ ” การแสดงชุด ” Liao Ge : คีตลีลา อัตลักษณ์ จ้วงจีน” และการแสดง “รำอวยพรอ่อนหวาน อลังการนาฏยศิลป์ไทย” โดย นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

ในการนี้ รศ.ดร.ปริเยศ สิทธิสรวง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วย อ.ดร.เสาวรีย์ บุญสา ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมลงนาม MOU เรื่องสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน โดยได้รับเกียรติจาก นายธวัชชัย กุณหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทาแม่ลอบ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และนายวิทวัส จอมขันเงิน นายกเทศมนตรีตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ร่วมลงนาม เพื่อยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานรากให้พ้นขีดความยากจนในพื้นที่ ส่งเสริมความรักความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กับคนในชุมชน บูรณาการรายวิชาและให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และให้เกิดองค์ความรู้ นวัตกรรม งานวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้ พร้อมกันนี้ได้มอบรางวัลการประกวดสื่อสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา โดยแบ่งตามประเภทดังนี้ รางวัลประเภทบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้แก่
– รางวัลชนะเลิศ ชื่อทีม “หีดธัมม์มรดกล้ำค่า เมืองโบราณเขลางค์นคร” สมาชิกทีมประกอบด้วย นายณภัทร เหมืองทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ นายวรัญญู เป็นบุญ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ และนางสาววิภาพร เจริญใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ชื่อทีม “Friend Credit” สมาชิกทีมประกอบด้วย นายธนวินท์ เหล็กดี นายกภูริณัฐ สมบัตินันท์ และนายณัฐกิตติ์ แซ่กี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ว่าที่ ร.ต.ปิยะพันธ์ มูลแสน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รางวัลประเภทประชาชน บุคคลภายนอกทั่วไป ได้แก่
– รางวัลชนะเลิศ ชื่อทีม “TO BE TWS.” จากโรงเรียนเถินวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง สมาชิกทีมประกอบด้วย นางสาวสาวิตรี บุญเชื่อม นายวรเมธ สุวรรณศรี นายกิตตินันท์ นันทพิศาล นางสาวทิพปภา ชัยวิลยศ นางสาวนภัสราภรณ์ มีคติ นางสาวฌาธิศา หมื่นพรม นายธีรวิทย์ กันทะมา

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ชื่อทีม “Remix Production” นายศุภสัณห์ ผาบสละ

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชื่อทีม “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาฟ้อนเมืองบ้านครูเอ 2” สมาชิกประกอบด้วย นางจิดาภา นามศรีแก้ว นางสาวธิติลักษณ์ วรรณวงศ์ นางบุฐทอง วรรณวงศ์ นางบุญสืบ ตมป่า นางกล่อมจิต ศรีวิชัย นางณัฐฐิณี อินทะอุด นายปัญญา นามศรีแก้ว