27 มกราคม 2025

ทีมที่ปรึกษางานวิจัย มร.ลป. ร่วมเปิดการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายอีสานรอบปฐมฤกษ์ สายอีสานตอนบน (ขอนแก่น- อุดรธานี – หนองคาย) ขบวนรถพิเศษ SRT Royal Blossom ภายใต้แนวคิด “ออนซอนอีสานสำราญวิถี” ณ สถานีรถไฟขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 ทีมที่ปรึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง นำโดย ผศ.ดร.ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วย ผศ.ดร.ปัณณทัต กัลยา อ.กนกอร ศิริฐิติ อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ ผศ.ดร.สุขเกษม ลางคุลเสน   อ.ปิยะ วัตถพาณิชย์ อาจารย์สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสมัยใหม่  อ.ดร.ณัฐวุฒิ ปัญญา อาจารย์สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการตลาด สังกัดคณะวิทยาการจัดการ ผศ.รัชดาพร หวลอารมณ์ อาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนางทัศนีย์ วัฒโล เจ้าหน้าที่โครงการวิจัยฯ ร่วมเปิดการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายอีสานรอบปฐมฤกษ์ สายอีสานตอนบน (ขอนแก่น- อุดรธานี – หนองคาย) ขบวนรถพิเศษ SRT Royal Blossom ภายใต้แนวคิด “ออนซอนอีสานสำราญวิถี” ณ สถานีรถไฟขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น

โดยมีนายศิริวัฒน์  พินิจพานิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นผู้กล่าวแนะนำโครงการ ผศ.ดร. สุพรรณี พฤกษา   รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวรายงานโครงการวิจัย

ทั้งนี้มีนายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ร่วมกล่าวยินดีตอนรับและร่วมขบวนรถไฟครั้งนี้ด้วย ซึ่งขบวนรถไฟพิเศษ SRT Royal Blossom สายอีสานตอนบน ภายใต้แนวคิด “ออนซอนอิสานสำราญวิถี” เปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วยเส้นทาง ขอนแก่น – อุดรธานี – หนองคาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูมิภาคอีสาน สร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงธรรมชาติ วัฒนธรรม ธรรมมะ สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่อิงกับธรรมชาติ เสน่ห์ของวัฒนธรรมอีสานอันล้ำค่า และแหล่งธรรมะ และเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพเลื่อมใส ควรค่าแก่การมาเยือน

โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เริ่มต้นจากการท่องเที่ยวเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นจุดเริ่มต้นงานวิจัยดังกล่าวซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากนักท่องเที่ยวจนเกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาในขณะเดียวกันก็ได้ขยายผลไปยังการท่องเที่ยวเส้นทางรถไฟสายใต้โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและสายอีสาน โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยผ่านความร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทยตามนโยบายการปรับปรุงการบริการและการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารด้วยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวรถไฟทุกภูมิภาคของการรถไฟแห่งประเทศไทย“การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยรถไฟเป็นโอกาสที่สำคัญ

ประการหนึ่งในการพัฒนาการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ด้วยการเปิดประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวจากเมืองหลักและเมืองรองสู่เมืองน่าเที่ยวเชื่อมโยงกับการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งระบบรางของประเทศไทย ตลอดจน การเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

โดยรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้านอันจะนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยวและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป