23 มกราคม 2025

มร.ลป. ร่วมเป็นเกียรติในการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของหน่วยรับงบประมาณในพื้นที่จังหวัดลำปาง

รศ.ธิติมา คุณยศยิ่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมเป็นเกียรติในการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของหน่วยรับงบประมาณในพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยได้รับเกียรติจากศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (กสว.)ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ กรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และคณะเข้าตรวจเยี่ยม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2567 ซึ่งในภาคเช้าได้ลงพื้นที่ ณ กาดนั่งก้อม สวนสาธารณะหนองกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีนายชัชวาลย์ ฉายะบุตร  ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อม รศ.ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง ให้การต้อนรับ และได้มีการรับฟังการนำเสนอผลงานวิจัย ฯ ณ หอประชุมชั้น 7 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง โดยรศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร กล่าวที่มาของการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดลำปาง มี ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผศ.สันติ ช่างเจรจา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง นักวิจัย รายงานผลดำเนินการต่อที่ประชุม

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. ปฎิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการนำนักพัฒนาระบบ ววน. พร้อมด้วย ดร.สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์ รักษาการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ ปฏิงานบริหารด้านจัดทำและวิเคราะห์แผนด้าน ววน. รศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ ววน. ปฏิบัติงานบริหารด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร และนางสาวดารารัตน์ โพธิ์รักษา รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจฐานราก และความเข้มแข็งของชุมชน ร่วมการตรวจเยี่ยม ซึ่งถือว่างานวิจัยมีผลลัพธ์และผลกระทบเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดัน ให้จังหวัดลำปางเป็นเมืองน่าอยู่ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยครอบคลุมทั้งด้านการท่องเที่ยว การค้า การบริการ และการเกษตร