19 ธันวาคม 2024

ทีมวิจัยลำปางแบรนด์ มร.ลป. จัดเวทีคืนข้อมูลพร้อมมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบการ

ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์ อาจารย์สังกัดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน  ภายใต้แนวคิดลำปางแบรนด์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2566 แผนงานวิจัยฯ พร้อมทั้งโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการวิจัยได้จัดเวทีคืนความรู้และเชื่อมโยงการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ภายในงาน “ลำปางเซรามิกแฟร์” ครั้งที่ 36 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง  จัดให้มีเวทีเสวนาเรื่อง “ภาพจำและอนาคตของลำปางแบรนด์” ได้รับเกียรติจากว่าที่ร้อยตรีหญิง พรทิพย์พา มาปลูก หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง  ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์ อาจารย์สังกัดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยฯ ร่วมเสวนา ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช อาจารย์สังกัดสาขาวิชาการจัดการ  ทีมนักวิจัยฯ และผศ.ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ อาจาร์สังกัดสาขาวิชาการจัดการ หัวหน้าโครงการวิจัยย่อย เป็นผู้ดำเนินรายการ ทั้งนี้ภายในงานได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพในการประกอบการ ด้านการตลาด และผลิตภัณฑ์ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัย  โดยได้รับเกียรติจากคุณเยาวเรศ แซ่โค้ว พาณิชย์จังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรดังกล่าว

พร้อมกันนี้  ผศ.ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ อาจาร์สังกัดสาขาวิชาการจัดการหัวหน้าโครงการวิจัย  ได้มีการนำเสนอผลการวิจัยและการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัยย่อย  เรื่อง  การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดลำปางแบรนด์  อ.เกศณีย์ สัตตรัตนขจร  สาขาวิชาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ นำเสนอโครงการวิจัยย่อย  เรื่อง  การพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดแบบบูรณาการสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดลำปาง  ผศ.สนธิญา สุวรรณราช อาจารย์สังกัดสาขาวิชาการบัญชี หัวหน้าโครงการวิจัย นำเสนอความสำเร็จของการขับเคลื่อนผู้ประกอบการสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE.) และผศ.อัญธิชา รุ่งแสง อาจารย์สังกัดสาขาวิชาการเมืองและการปกครอง ได้นำเสนอการทิศทางในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นของผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (Re-inventing University)อีกด้วย