เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 รศ.วิไลลักษณ์ พรมเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วย ผศ.ดร.โอฬาร อ่องฬะ คุณปุญญภัส อ่องฬะ ที่ปรึกษานักวิจัย และทีมนักวิจัย โครงการการสร้างกลไกความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคมของจังหวัดลำปาง ปี 2567 จำนวน 25 คน เข้าร่วมการอบรม “หลักสูตรการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่” ภายใต้กิจกรรมของโครงการ การสร้างกลไกความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคมของจังหวัดลำปาง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวคิดการใช้ผลการวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ และเพื่อประยุกต์ใช้การมองอนาคต (Foresight) กับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม ณ ห้องประชุมโอฬารรมณ์ ชั้น 1 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ในการจัดอบรมครั้งนี้ นักวิจัยสามารถนําองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการวิจัย และได้แนวทางการพัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เจษฎา มิ่งฉาย รองอธิการบดี กำกับงานวิจัย นวัตกรรม และพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นวิทยากรการบรรยาย ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ผลการวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่และเชิงวิชาการ” โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ (Area based University) ซึ่งมีโครงสร้างในการผลิตความรู้และกำลังคนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา และแก้ไขปัญหาโดยต้องคำนึงถึงต้องการของพื้นที่และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในผลิตคนที่มีความรู้ เพื่อการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมได้นั้น จะต้องมีการสร้างกลไกความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมในระดับจังหวัด และการหนุนเสริมให้เกิดการมองภาพรวมของมหาวิทยาลัยที่มีความใกล้ชิดกับสังคม ด้วยการบูรณาการภารกิจของมหาวิทยาลัยจากหลักคิด “งานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม” ภายใต้โจทย์ที่ได้รับจากท้องถิ่นตามภารกิจของนักวิจัยมหาวิทยาทั้งในด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอน ที่สามารถนำไปสู่ผลแก่ชุมชนและต่อวงวิชาการ อีกทั้งการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ด้านการวิจัย และการมองถึงอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมและการบริหารความเสี่ยงจากหัวใจสำคัญ คือ ข้อมูลสนับสนุนที่มีหลากหลายและน่าเชื่อถือ (data & information) ทักษะการคิด (thinking) รวมไปถึงกระบวนการ (methodology) ที่เข้มข้นและเชื่อถือได้ ยังมีความสำคัญอย่างมากที่จะนำมามองถึงอนาคต (Foresight) ของโครงการวิจัยว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ในปี 2567 และเชื่อมต่อไปในปี 2568 ได้อย่างไรรอยต่อ นอกจากนี้ยังเสนอแนะในประเด็นด้านการขับเคลื่อนพันธกิจการรับใช้สังคมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และการขอตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม ถึงความก้าวหน้าทางวิชาการด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคมให้แก่นักวิจัยเกิดแนวทางในการพัฒนาตนเองจากผลงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่หรือวางแผนถึงอนาคตเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการอีกด้วย