โครงการแก้จน ฯ มร.ลป. ปี 2567 จัดอบรมหลักสูตรทักษะทางด้านการวิจัยและกระบวนการสร้างและจัดการองค์ความรู้ให้แก่นักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Research Manager: ARM)
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2568 ผศ.ดร.สุภาวดี ยาดี รองประธานคณะกรรมการฝ่ายบริหารโครงการพร้อมทีมงาน โครงการการสร้างกลไกความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคมของจังหวัดลำปาง ปี 2567 ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดอบรมหลักสูตรทักษะทางด้านการวิจัยและกระบวนการสร้างและจัดการองค์ความรู้ให้แก่นักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Research Manager: ARM) ณ ห้องประชุมโอฬารรัตน์ ชั้น 1 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในการนี้ รศ.วิไลลักษณ์ พรมเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เป็นประธาน และกล่าวต้อนรับทีมวิทยากร ตลอดจนนำทีมนักวิจัยร่วมสรุปบทเรียน บทบาทการทำงานและกระบวนการทำงานภายใต้การขับเคลื่อนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคมที่ผ่านมา
การจัดการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสมรรถนะของ นักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Research Manager: ARM) และเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์กระบวนการทำงานในการขับเคลื่อนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม ซึ่งเป็นทีมนักวิจัยโครงการแก้จน ฯ มร.ลป. ปี 2567 จำนวน 29 คน ในประเด็น “Area Research Manager การเติมเต็มและยกระดับชุดวิเคราะห์การขับเคลื่อนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม” ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผศ.ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ (หัวหน้าโครงการ SRA) เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง กรอบคิดงานวิจัย และบทเรียนการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำสู่การประยุกต์และยกระดับการทำงาน “จากกวางสี สู่ งานแก้จน จากงานแก้จน สู่ พื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม” ผศ.ดร.โอฬาร อ่องฬะ (ที่ปรึกษาโครงการ) เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง ลำปางไม่ “ลำพัง” หรือถ้าอยาก “ปัง” ต้อง “ฟัง” ลำปาง วิเคราะห์ความเสี่ยงใหม่ที่กำลังมาถึงในมิติต่าง ๆ อาทิ เศรษฐกิจ วิถีชีวิต และสังคมการเมือง โดยการแสวงหาโอกาสจากฐานทุน “ลำปาง เมืองแห่งความสุข 2 มิติ ด้วยการผสมผสานมนต์เสน่ห์แห่งความเป็นเมืองเก่า นอกจากนี้ อ.จุมพล ทองจำรูญ (ทีมกลาง DSS) เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง Tools Installation for Poverty Platform ว่าด้วยวิเคราะห์และสร้างชุดเครื่องมือ เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม : การออกแบบระบบ Decision Support System: DSS และการนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนให้แก่ทีมนักวิจัยอีกด้วย และวิทยากรท่านที่ 4 คุณสรวิชญ์ หงส์พาเวียน (ทีมสื่อลำลอง จ.ลำปาง) บรรยายเรื่อง การพัฒนากระบวนการสื่อสารเชิงพื้นที่เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้นำไปปรับใช้และวางแผนทางด้านการสื่อสารงานวิจัยต่อชุมชนและสังคมต่อไป