อธิการบดี ม.ราชภัฏลำปาง นำนักวิจัยโครงการแก้จน ฯ และเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับและประสิทธิภาพระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน และระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่”
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 รศ.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วย รศ.วิไลลักษณ์ พรมเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ทีมนักวิจัย โครงการการสร้างกลไกความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคมของจังหวัดลำปาง ปี 2567 จำนวน 29 คน และ คุณปุญญภัส อ่องฬะ ที่ปรึกษานักวิจัย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับและประสิทธิภาพระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน และระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่” โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศบริหารครัวเรือนยากจน และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สำหรับผู้บริหารใช้ประโยชน์ประกอบการวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ การแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการโครงการ ในการเลือกแนวทางวิธีการ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับการจัดการสภาพปัญหา และสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานโครงการในการใช้ประโยชน์ระบบข้อมูล ประกอบการพัฒนาระบบงานการแก้ปัญหาความความยากจนในระดับพื้นที่ ณ ห้องประชุมโอฬารรมณ์ ชั้น 1 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ในการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ทรงกรด พิมพิศาล หัวหน้าโครงการวิจัยย่อยส่วนกลาง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) บรรยายในหัวข้อ การออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนและระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่ และหัวข้อ การขับเคลื่อนระบบข้อมูลพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม การส่งต่อความช่วยเหลือ และการกำกับติดตาม KPI รายจังหวัด นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก อ.จุมพล ทองจํารูญ หัวหน้าโครงการวิจัยย่อยส่วนกลางและทีมวิจัย DSS หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และคณะ ร่วมบรรยายในหัวข้อ การนําเข้าข้อมูล ARM/ADM ครัวเรือนยากจน product apptech เข้าสู่ OM การนําเข้ารายได้ครัวเรือน รายได้วิสาหกิจการแปลผลการวิเคราะห์ และการนําเข้าข้อมูลสุขภาพทางการเงินครัวเรือน ข้อมูลเมนูอาชีพ
จากการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ นักวิจัยได้นําบทเรียนที่ได้จากเรียนรู้ไปปรับกลยุทธ์ และแนวทางการขับเคลื่อนการ ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนและระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่ ไปปรับประยุกต์ใช้ในการออกแบบการขับเคลื่อนงานของจังหวัดได้อย่างสอดคล้อง เหมาะสม ตามกรอบการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อไป