22 พฤศจิกายน 2024

มร.ลป. จัดการประชุม คณะกรรมการโครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 3/2566

.ดร.ดวงใจ พุทธวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จัดการประชุมคณะกรรมการโครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่11 กรกฎาคม 2566   ห้องประชุมโอฬารรมย์ ชั้น 1 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยผศ.ดร.พงศธร คำใจหนัก รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและบริการวิชาการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ได้รับเกียรติจาก นายวิชญ์ธวัช อัจฉริยฉัตรา

ท้องถิ่นจังหวัดลำปางเป็นประธานการประชุม

การประชุมในครั้งนี้เป็นข้อสรุปวาระสำคัญ พร้อมทั้งการนำเสนอ ผลการเข้าร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคม ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางโดยอธิการบดีร่วมกับจังหวัดลำปางโดยผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ภายใต้งานสัมมนาพหุภาคีสู้ชนะความจน : บนฐานพลังความรู้ พลังภาคีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ห้องวิภาวดีบอลรูม บี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร จัดโดยหน่วยงานบริหารและจัดการทุนระดับพื้นที่(บพท.)

นอกจากนี้ ยังได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึง การจัดทำบันทึกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางกับ 21 หน่วยงานซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานหลักๆที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความยากจน รวมถึงสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และปลัดจังหวัดลำปางเป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้เพื่อขับเคลือนโมเดลแก้จน” (Operating Model) ในพื้นที่อำเภอนำร่องทั้ง 5 อำเภอประกอบด้วย อำเภอเถิน อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว อำเภอแม่เมาะ และอำเภอเมืองลำปาง รวมถึง  การสร้างนักบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area Research Manager) รวมถึงการรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (DSS: Decision Support System) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางจะพัฒนาระบบร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสิทธิ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ปลัดอำเภอนำร่องเป็นตัวแทนอำเภอนำเสนอประกาศอำเภอ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนฯ อันเป็นกลไกการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ ส่วนวาระเพื่อพิจารณา นักวิจัยภายใต้โครงการฯของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง ได้ร่วมกันนำเสนอ Chain   ห่วงโซ่ ประเด็นการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนในพื้นที่อำเภอนำร่อง 5 อำเภอ ประเด็นหลักๆได้แก่ สมุนไพร ไผ่ ข้าว กระเทียม ถั่วเหลืองสับปะรด มันสำปะหลัง ผักปลอดภัย   การเลี้ยงปูนา เป็นต้น และวาระเพื่อพิจารณาสุดท้ายคือ การส่งต่อความช่วยเหลือ ครัวเรือนยากจน โดยได้ยกตัวอย่าง กรณีเร่งด่วนของอำเภอแจ้ห่ม จำนวน 16 ครัวเรือนส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการช่วยเหลือต่อไป โดยในภาคบ่ายมีการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยแยกกลุ่มตามอำเภอ โดยมีปลัดอำเภอ  ที่ปรึกษา ผู้ประสานระดับอำเภอ และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปางร่วมแลกเปลี่ยนและหาแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนพื้นที่นำร่องทั้ง 5 อำเภอ