19 มกราคม 2025

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทย์ฯ มร.ลป. จัดโครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill) ประจำปี 2567 “หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง”

ผศ.ดร.หฤทัย ไชยสุชาติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill) ประจำปี 2567 “หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง” เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุมสลุงคำ ชั้น 2 ศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยผศ.ชิสาพัชร์ ชูทอง อาจารย์สังกัดสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ได้รับเกียรติจากคุุณถวิล สกุลวรรณวงศ์ สาธารณสุขอำเภอแม่ทะ กล่าวต้อนรับ

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ กำหนดจัดการอบรมขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 7 ธันวาคม 2567 และระหว่างวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2567 เป็นการอบรมภาคทฤษฎี และระหว่างวันที่ 18 – 20 ธันวาคม 2567 เป็นการอบรมภาคปฏิบัติ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบูรณาการองค์ความรู้จากหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข สู่หลักสูตรผู้ดูแล ผู้สูงอายุและฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมทั้งนำหลักสูตรไปใช้ในการ Upskill และ Reskill ผู้ดูแลผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ และศึกษาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุหลังผ่านการอบรมในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยอ.ภัทรนัย ไชยพรม อาจารย์สังกัดสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน เป็นวิทยากรอบรมในหัวข้อ โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผศ.ชิสาพัชร์ ชูทอง อาจารย์สังกัดสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน เป็นวิทยากรในหัวข้อ การให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการประเมิน ค้นหาสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ และในวันที่ 7 ธันวาคม 2567 คุณวิภาพร สุภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำโทก เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อการจัดการดูแลผู้สูงอายุ คุณนิตยา ศรีสุทธะ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำโทก เป็นวิทยากรในหัวข้อ คุณลักษณะและบทบาทหน้าที่ของ cg นายภูมินันท์ รุ่งแสง นิติกร สังกัดงานบริหารทรัพยากรบุคคลและนิติการ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ สิทธิ์และสวัสดิการผู้สูงอายุ และคุณนิตยา เสียงดัง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำโทก เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พร้อมด้วยนักศึกสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน